วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

แม่นางกวัก


ของสะสม

เครื่องรางของขลัง






     "วัตถุมงคล" และ  "เครื่องรางของขลังคงเป็นคำที่คุ้นหูสำหรับและเป็นที่รู้จักสำหรับหลายคน คนที่ชื่นชอบ และมีวัตถุมงคล เครื่องรางของขลังอยู่แล้วก็คงไม่สงสัยมาก เพราะรู้จักความหมายดี ในแง่ของความเข้าใจภายในจิตใจ และความเชื่อความศรัทธา แต่ประวัติความเป็นมาและความหมายที่แท้จริงของ วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง เป็นอย่างไร มีที่มาที่ไปและมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรอะไรจะได้นำมาเล่าสู่กันฟัง

วัตถุมงคล เป็นสิ่งที่เกิดจากความเชื่อความศรัทธา และค่านิยมในวัตถุ สิ่งของ ที่กลุ่มคน หรือคนบางคนเชื่อว่า วัตถุหรือสิ่งของนั้นให้ผลอย่างใดอย่างหนึ่งในทางที่เป็นประโยชน์หรือเป็นคุณต่อผู้ที่ครอบครอง ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่นเชื่อว่าทำให้เกิดผลทางด้านการคุ้มครองป้องกัน ขับไล่ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย หรือดลบันดาลให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งกับผู้ที่มีไว้ครอบครอง ซึ่งวัตถุมงคลนั้นเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือธรรมชาติ ซึ่งหรือมีผลทางด้านจิตใจต่อผู้ที่ครอบครอง การบูชาวัตถุมงคล มีมาตั้งแต่สมัยบรรพกาล เชื่อว่ามีมาในสมัยแรกที่กำเนิดสังคมมนุษย์ด้วยซ้ำ เพราะมีหลักฐานเป็นการขุดค้นพบซากวัตถุสิ่งของต่างๆ ในโบราณสถานต่างๆ ทุกๆอารยธรรม และทุกชนเผ่า ทั่วโลก เป็นสิ่งที่คู่กับอารยธรรมความเชื่อ ตามลัทธิ หรือศาสนา

"วัตถุมงคล หรือ เครื่องรางของขลัง" เป็นสิ่งที่มากับอารยธรรม ความเชื่อ ตามลัทธิ หรือศาสนา ดังนั้น เครื่องรางจึงถูกสร้างขึ้นโดยอิทธิพลของลัทธิความเชื่อ หรือศาสนานั้นๆ และมีรูปแบบเป็นลักษณะต่างๆ แตกต่างกันไปตามความเชื่อนั้นๆ ซึ่งอาจจะสร้างขึ้นให้มีรูป หรือเกิดความหมายแทนสิ่งๆนั้นๆเช่นในยุคสมัยที่มีการบูชา พระอาทิตย์ หรือ พระจันทร์ ก็อาจจะมีการแกะสลักหิน ให้เป็นรูปของพระอาทิตย์ หรือพระจันทร์ เป็นต้น หรือ ในลัทธิที่มีการบูชาเทพเจ้าองค์ใด ก็จะมีการแกะเป็นรูปเทพเจ้าองค์นั้น หรือกำหนดลักษณะของวัตถุสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นสัญลักษณ์ แทนการบูชาสิ่งนั้นเป็นต้น


วัตถุมงคล หรือ เครื่องรางของขลัง นั้น ถ้าเรามีสะสมไว้ก็จะดี แต่ถ้าจะให้ดีต้องรู้จักบูชาและให้ความเคารพนับถือแก่สิ่งนี้เป็นอย่างมาก สิ่งที่ผมได้บูชา มีดังนี้ครับ

แม่นางกวัก 
       แม่นางกวักเป็นสิ่งที่ผมบูชาเป็นประจำทุกวัน เพราะว่าที่บ้านผมนั้นขายของ เลยได้ไปบูชาแม่นางกวักมาจากวันนิลาเทเวช ผมก็รู้สึกว่าที่บ้านผมขายดีน่ะ ไม่รู้เป็นเพราะทำเลที่ตั้งดี หรือเป็นเพราะพ่อค้าหน้าตาดี แต่ที่หน้าสงสัยที่สุด คือตอนที่ผมไม่ได้ถวายน้ำสมให้แม่นางกวัก วันนั้นคือว่า ขายไม่ดีเลย ก็เลยเป็นเหตุที่ให้ผมต้องคิด แต่พอวันต่อมาถวายและก็ขอพรขอให้ขายดิบขายดี พอขอเสร็จเท่านั้นแหละครับ ลูกค้าเต็มร้านเลย ทำให้ผมบูชาท่านจนมาถึงทุกวันนี้



และก็มีวิธีบูชา

คาถาบูชาแม่นางกวัก...ว่าดังนี้
โอมมหาสิทธิโชคอุดม โอมปู่เจ้าเขาเขียว มีลูกสาวคนเดียวชื่อว่านางกวัก ชายเห็นชายรัก หญิงเห็นหญิงทัก รู้จักทุกตำบล คนรักถ้วนหน้า โอมพวกพานิชชาค้าหัวแหวนพากูไปค้าถึงเมืองแมนค้าแหวนก็ได้แสนทะนานกูค้า สารพัดการก็ได้กำไรคล่องๆกูจะค้าเงินก็เต็มกองทองก็เต็มหาบ กลับมาเรือนสามเดือนเลื่อนเป็นเศรษฐีสามปีเป็นพ่อค้าสำเภาโอมปู่เจ้าเขา เขียว ..ประสิทธ์ให้กูคนเดียว สวาหะ.
ของบูชาแม่นางกวัก

น้ำเขียว น้ำแดง พวงมาลัยสด ขึ้นหิ้งทุกวัน พระ (น้ำเปล่าอย่าให้ขาด)
คล็ดในการบูชาแม่นางกวัก/กุมารทองให้ได้ผลดี เร็ว แรง
1.ให้มีจิตเชื่อมั่นศรัทธาในวัตถุมงคล ครูอาจารย์ ผู้ปลุกเสก
2. ก่อนออกจากบ้าน ให้อาราธนาแม่นางกวัก/กุมารทองติดตัวไปด้วย ( กรณีแบบติดตัว)ทุกครั้งหากทำการค้าขาย
อยู่ที่บ้าน ก็ให้อาราธนาติดตัวไว้เช่นเดียวกัน สำหรับแม่นางกวัก/กุมารทองขนาดบูชา ให้ตั้งบูชาในที่อันควร
3 . หากต้องการจุดธูปบูชา หรือบอกกล่าวอธิษฐานขอ ให้จุดธูป 5 ดอก
4. เมื่อจะรับประทานอาหาร ให้ตั้งจิตเชิญกุมารทองมาร่วมรับประทานอาหารกับเรา ไม่ต้องแบ่งส่วนสำรับอาหารไว้ต่างหาก ส่วนแม่นางกวักผู้บูชาควรจัดไว้ต่างหากวันละครั้ง ก่อนเพล (งดเว้นเนื้อสัตว์ )ส่วนกุมารทองสามารถเชิญให้มาร่วมรับประทานอาหารวันละกี่มื้อก็ได้
5. บูชาแม่นางกวัก/กุมารทอง ด้วยดอกไม้ เครื่องหอม ขนมต้ม น้ำหวาน ( โดยเฉพาะน้ำแดง ) บ้างตามสมควร อย่าถวายเหล้า สิ่งใด ๆ ที่เป็นของเมาและสิ่งเสพติดให้โทษต่าง ๆ แก่แม่นางกวัก/กุมารทองโดยเด็ดขาดเจตนาของ
ผู้สร้างแม่นางกวัก/กุมารทองขึ้นมา เพื่อให้กระทำแต่คุณความดี ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์และให้ความคุ้มครอง
แก่ผู้บูชาเท่านั้น
6.ผู้บูชาสามารถอธิษฐานของสิ่งต่าง ๆ ที่พอจะเป็นไปได้ โดยไม่เกินกำลังความสามารถของแม่นางกวัก/กุมารทอง
ไม่ขอในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ไม่เป็นไปในทางโลภมาก และที่สำคัญก็คืออย่าอธิษฐานขอในสิ่งที่ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม และทำให้ผู้อื่นได้รับความทุกข์เดือดร้อนหากอธิษฐานขอสิ่งใดแล้วได้ผลสม ประสงค์
์ก็ควรมีของต่าง ๆ ถวายให้แก่แม่นางกวัก/กุมารทอง บ้างตามสมควร ( แล้วแต่ที่ได้บอกกล่าวหรือบนไว้ )
อนึ่งหากผู้บูชารู้ว่าจะสัญญาสิ่งใด ๆ กับแม่นางกวัก/กุมารทอง แต่รักษาสัญญานั้นไม่ได้ แล้วจงอย่าไปให้
้คำมั่นสัญญากับแม่นางกวัก/กุมารทอง เพราะทั้งสองเป็นเทพ มีการรักษาคำมั่นสัญญามากกว่ามนุษย์เรา ไม่ยอมให้ต่อรอง บิดพลิ้ว หรือเลิกละเมิดสัญญาง่าย ๆ อย่างที่มนุษย์เราทำกันการบูชาแม่นางกวัก/กุมารทอง จะได้ผลสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับ จิต และ ใจ ของผู้บูชาที่จะสื่อเชื่อมกับวัตถุมงคลนั้น ๆ เป็นสำคัญและหากผู้บูชาปฏิบัติต่อแม่นางกวักดั่งผู้น้อยปฏิบัติต่อผู้ใหญ่ หรือปฏิบัติต่อกุมารทองดั่งพ่อแม่
ปฏิบัติต่อลูกด้วยความรักเอาใจใส่ มีจิตใจที่ดีสื่อถึงกันแล้วย่อมได้รับความสำเร็จอย่างแน่นอน

เขี้ยวเสือ

เขี้ยวเสือ คงกระพันและมหาอุด
         เขี้ยวเสือ  จัดอยู่ในประเภทเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่งที่โด่งดังมาก  คือ  เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย  จังหวัดสมุทรปราการ  แม้แต่ล้นเกล้าฯ  รัชกาลที่ 5 ยังทรงพระราชนิพนธ์ถึงหลวงพ่อปานกับเขี้ยวเสือมาแล้วด้วยพระองค์เอง



         เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดประตูน้ำหลวงที่ตำบลคลองด่านนั้น  ในขบวนผู้ตั้งแถวรับเสด็จมีสามเณรน้อยและพระภิกษุรูปร่างล่ำสันผิวคล้ำด้วยแดดเผาประปนอยู่ด้วย  ในมือของสามเณรน้อยประคองพานแว่นฟ้าอย่างระมัดระวัง  ทว่าด้วยความประหม่า  เมื่อได้ยินเสียงเจ้าพนักงานประโคมเป็นเครื่องบอกให้รู้ว่าเสด็จพระราชดำเนินมาถึงปากทางดังขึ้น  สามเณรก็ทำท่าลุกลนเท้าสะดุดกันเอง  จนเสียหลักทำให้พานแว่นฟ้าในมือเอียงจนวัตถุชิ้นเล็ก ๆ สี่ห้าชิ้นที่วางอยู่บนพานก็หล่นลงน้ำ
         เมื่อพระภิกษุชราเห็นจึงไม่แสดงท่าทีว่าโกรธเคืองหรือทำโทษ  ทว่ากลับเอื้อมมือไปลูบหัวสามเณรน้อยแล้วเป่าเรียกขวัญแล้วหันไปกระซิบกับเด็กวัดที่ยืนอยู่ถัดออกไป  ปรากฏว่าเด็กวัดหายไปไม่นานก็กลับมาพร้อมด้วยหมูสามชั้นดิบ ๆ แบะหนึ่ง  มีเชือกผูกมัดไว้อย่างดี  พระภิกษุชราชี้มือให้หย่อนเชือกที่ผูกเนื้อหมูลงไปตรงที่ของตกในน้ำ  หมูสามชั้นจมไปในน้ำเพียงปริ่ม ๆ พระภิกษุรูปนั้นพนมมือหลับตา   ปากขมุบขมิบท่องมนต์  เมื่อมองเห็นขบวนเสด็จพระราชดำเนินมาแต่ไกล  และเคลื่อนใกล้เข้ามา
        ดึงขึ้นได้แล้วเสียงพระภิกษุชราผิวคล้ำร้องสั่งเด็กวัด  เมื่อหมูสามชั้นด้านที่มีหนังโผล่พ้นน้ำ  ปรากฏว่ามีวัตถุชิ้นเล็ก ๆ สีเหลือง ๆ ติดมาด้วยสี่ห้าตัวเด็กวัดค่อย ๆ ประคองชิ้นหมูมาส่งให้ท่านเอามือลูบผ่านวัตถุนั้นไป  มันก็ร่วงลงมาฝ่ามือข้างที่ท่านแบรองอยู่  ท่านก็หัวเราะฮิ ๆ พึมพำพอได้ยินว่า  “กัดติดเชียวนะไอ้พวกนี้ดุนัก”
        สิ่งที่กล่าวมานั้นคือ  เขี้ยวเสือที่แกะเป็นรูปตัวเสือสำเร็จรูปซึ่งบรรจุอาคมของหลวงพ่อปาน  วัดบางเหี้ย  (มงคลโคธาวาส)  ถึงแม้จะตกน้ำไปแล้ว  ท่านก็ภาวนาเรียกแล้วก็ล่อด้วยหมูมันก็กระโดดขึ้นจากน้ำงบติดหนังหมูขึ้นมาทันควัน
         เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงสนทนากับหลวงพ่อปานอยู่ชั่วครู่จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับ  และทรงให้สังฆการีนิมนต์ให้เข้าไปรับพระราชทานฉันในพระบรมมหาราชวัง  ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานสมณศักดิ์ที่  “พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ”  และทรงรับสั่งเรียกเป็นการส่วนพระองค์ว่า  “พระครูป่า”
         สมเด็กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ทรงมีพระดำรัสถามท่านพระครูป่า  “ทำไมจึงสร้างเสือด้วยเขี้ยวเสือ  เสือมีดีอะไร”  ท่านพระครูอธิบายถวายว่า “อันว่าเสือนั้นเป็นเจ้าป่ามีมหาอำนาจราชศักดิ์เพียงคำราม  สัตว์ทั้งหลายก็ตกใจไม่เป็นอันสมประดี   กลิ่นสาปลอยไปกระทบจมูกสัตว์ตกใดก็มีอาการกะปลกกะเปลี้ยเพลียแรง  และเสือนั้นแม้จะดุร้ายก็มีเสน่ห์  ใคร ๆ อยากเห็นอยากชม  เอามาใส่กรงก็มีคนไปดู  จึงนับว่าเสือเป็นสัตว์ที่น่านิยมอย่างยิ่ง”
         หลวงพ่อนก  วัดสังกะสี  (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นวัดนาคราช)  เล่าให้ศิษย์ฟังว่า  “เมื่อข้าออกเดินธุดงค์กับพระอาจารย์ท่านนั้น  ท่านมักจะเอาเขี้ยวเสือที่แกะสำเร็จรูปแล้วติดย่ามของท่านไปด้วยเวลาดึกสงัดกลางคืนยามดึกเงียบสงัดพระที่ร่วมธุดงค์หลับไปหมดแล้ว ท่านก็จะจุดตะเกียงแล้วเอาเสือที่แกะแล้วนั้นมาลงเหล็กจาร  และก่อนหน้านี้ที่จะลงเหล็กจารนั้น  ป่าทั้งป่าได้ยินแต่เสียงจักจั่นและนกกลางคืนตลอดจนเสือสางดังระงม  ทว่าเมื่อเหล็กจารสัมผัสกับตัวเสือแกะและเริ่มลงอักขระสรรพสิ่งทั้งหลายก็เงียบสงบลงไปพร้อมกับการเป่าลมหายใจของท่านพระอาจารย์
         เมื่อเหล็กจารยกขึ้นเสียงเหล่านั้นก็เงียบหายไปด้วยอย่างน่าอัศจรรย์ใจ  บางครั้งข้าก็เห็นท่านเอาเสือที่ท่านจารสำเร็จมาปลุกเสกในบาตร  ข้าเห็นมันกระโดดออกจากบาตรกันเป็นแถว  เหมือนข้าวตอกแตก  ท่านกวักมือเรียกเสียงเบา ๆ ว่า  “พ่อเสืออย่าซนนะ  กลับเข้าบาตรนะพ่อนะ  พวกมันก็กระโดดกันเป็นแถว”
         สาเหตุที่เขี้ยวเสือของหลวงพ่อปานมีอิทธิฤทธิ์ก็เพราะว่าท่านสร้างตามตำรับโบราณ  อันว่าด้วยเขี้ยวงาซึ่งกำหนดอาถรรพณ์ด้วยกันสองชนิดเอาไว้ดังนี้คือ  1. เขี้ยวหมูตัน  2. เขี้ยวเสือกลวง
         1. เขี้ยวหมูตัน  เป็นที่นิยมเอามาทำเครื่องรางถือว่าดีตามธรรมชาติอันได้แก่  เขี้ยวหมูป่าที่งอกยาวออกมาจากปากตันตลอดตั้งแต่โคนถึงปลาย  ป้องกันอันตรายได้หลายอย่างและตันหมูเขี้ยวตันเองนั้นยิงไม่ค่อยถูกหรือถูกก็ไม่เข้า
         2. เขี้ยวเสือกลวง  ก็เป็นที่นิยมเอามาทำเครื่องรางและจะต้องกลวงตั้งแต่โคนถึงปลาย  จึงจะใช้ได้และไม่ได้ทำแจกเป็นมาตรฐานและถ้าใครมีปัญญาหาเขี้ยวเสือกลวงมาได้ก็มาให้ช่างแกะเป็นรูปเสือในท่าหมอบช่างจะแกะให้  ส่วนมากจะเป็นช่างแถววัดคลองด่านเพราะคุ้นเคยกับรูปทรงขนาดใหญ่เรียกว่า  เขี้ยวเต็มเขี้ยวจะตัดปลายเป็นส่วนฐาน  หรือปล่อยปลายแหลมไว้ก็แล้วแต่จะชอบแบบไหน
         ส่วนผู้ที่จะประหยัดหรือเสียดายก็ให้แกะหลายเขี้ยวก่อนเป็นตัวเล็ก ๆ แล้วก็แบ่งเขี้ยวที่เหลือออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ เรียกว่า  เขี้ยวซีกและเป็นตัวย่อม ๆ หรือจิ๋วลงไป  จึงมันจะพบเสือกลวงพ่อปานลักลักษณะดังกล่าว  ทว่าอนุมานได้เป็นแบบเดียวกันคือ  ไม่มีหน้าตาคล้ายเสือ  แต่จะคล้ายแมวมากกว่า
         ข้าราชการ  ประชาชน  จะนิยมหาเขี้ยวเสือมาแกะแล้วถวายไว้ให้หลวงพ่อปาน  นำไปทำการปลุกเสกลงเหล็กจารอักขระตอนออกธุดงค์  พอเข้าพรรษาก็เอาดอกไม้ธูปเทียนมารับจากมือท่านไปจึงเป็นอันเสร็จพิธี
         เนื่องจากกาลเวลาที่ผ่านมาร้อยกว่าปีเศษ  ทำให้เขี้ยวเสือของหลวงพ่อปานนั้นมีความเก่า  เขี้ยวจะเหลือฉ่ำเป็นเงาใสคล้ายเคลือบมุก  มีรอยลึกกร่อนการใช้ให้เห็น  ส่วนของปลอมจะไม่ฉ่ำ  แต่ใช้การทอดน้ำมันเดือน  ๆ  หรือคั่วกับทรายร้อน ๆ จะเกิดรอยไหม้เกรียมดำ  ให้สักเกตจะเช่าจะหากันก็ต้องระวังกันเป็นพิเศษ  เพราะของเทียมมีมากกว่าของแท้
         ลักษณะการแกะนั้นจะถือเอาเป็นมาตรฐานไม่ได้  เพราะเป็นการแกะทีละตัว ๆ แม้คนคนเดียวกันแกะก็ใช่ว่าจะเหมือนกันเป๊ะ  ย่อมเพี้ยนไปเป็นธรรมดา  โดยให้ดูความเก่าและฝีมือการแกะให้มีเค้าเหมือนกันกับตัวครูที่มีประวัติการตกทอดมาจากตำราโบราณอย่างแน่นอน  จะมียันต์  รึ  รือ  (ฤ  ฤๅ)  ตรงตะโพนซ้ายขวา  กลาง  หลังก็มี  ข้อนี้ไม่อาจยุติ  ซึ่งอาจจะมีตรงโน้นตรงนี้บ้างก็ได้  ส่วนที่สำคัญคือ  การลงเหล็กจารอักขระนั้นจะต้องลงที่ใต้ฐานเสือ  จะมียันต์แบบเหรียญหลวงพ่อกลั่น  ด้านหลังเรียกกันว่า  ยันต์กอหญ้า  หรือที่เรียกว่า  นะขมวด  (อุณาโลม)  กำกับเอาไว้  ส่วนที่อื่นนั้นมักจะไม่ค่อยได้เห็นเพราะลงเอาไว้เบา  ถูกเสียดสีหน่อยก็เลือนหายไป
         พุทธคุณนั้นดีทางมหาอำนาจควรติดตัวไว้จะได้เป็นที่เกรงขามของสัตว์ป่าและสัตว์หน้าขนทั้งหลาย  และเวลาเข้าไปในป่าก็อาราธนาให้คุ้มกันภัยได้  แถมยังเอาแช่น้ำทำน้ำมนต์แก้ไข้ป่า  ส่วนเขี้ยวขนาดใหญ่ที่กลวงตลอดนั้น  ใช้เป่าให้ดังวี้ด  วี้ด ๆ ๆ สะกดภูตผีปิศาจได้ทุกชนิด  และเป็นคงกระพันชาตรีมหาอุดเป็นที่สุดแล  และตามธรรมเนียมเมื่อปิดท้ายของเรื่องจะต้องมีคาถากำกับเสือเป็นมหาอำนาจซึ่งมีดังต่อไปนี้
พระคาถาพญาเสือมหาอำนาจใช้ภาวนากำกับเขี้ยวเสือดังนี้
ตั้งนะโมสามจบแล้วอาราธนาระลึกถึงพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  และกล่าวถึงหลวงพ่อปาน  วัดบางเหี้ย  (หรือผู้เป็นเจ้าของเขี้ยวเสือ)  เป็นที่ตั้ง  และจะมีเขี้ยวเสือหรือไม่มีเขี้ยวเสือก็ได้แล้วภาวนาพระคาถาว่า
 " ตะมัตถัง  ปะกาเสนโต  ตัวกูคือพญาพยัคโฆ  สัตถา  อาหะ  พยัคโฆจะวิริยะ  อิมังคาถามะหะ  อิติ  ฮ่ำ  ฮึ่ม  ฮึ่ม "
               
         เคล็ดลับ  การภาวนาพระคาถาให้ภาวนาตั้งแต่  ตะมัตถัง  มาจนถึง  อิมังคาถามะหะ  ให้กลั้นลมหายใจเวลาท่องให้มั่น  ทำจิตให้ดุเหมือนเสือแล้วจึงย้ำว่า  อิติ  ฮ่ำ  ฮึ่ม  ฮึ่ม  จึงผ่อนลมหายใจ  เวลาจะบู๊หรือจะเข้าตีกัน  ให้ว่าพระคาถานี้ให้ใจกล้ายิ่งมีเขี้ยวเสือยิ่งดี  บุกเข้าไปเถิด


ที่มา http://www.itti-patihan.com/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94.html

ชูชก



ชูชก 

จัดว่าเป็นเครื่องรางชนิดหนึ่งที่นับเป็นสุดยอดของเครื่องรางแห่งการขอ ขอทานเฒ่าที่ชื่อ  “ ชูชก” นี้แม้จะเป็นผู้ที่เกิดมาเพื่อเป็นเจ้ากรรมนายเวรของพระเวสสันดรพระโพธิ์สัตว์ในทศชาติสุดท้ายก็ตาม แต่ในฐานะผู้ขอกับผู้ให้แล้วก็เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้พระโพธิสัตว์เวสสันดรได้บำเพ็ญทานบารมีสูงสุดก่อนที่ภพชาติสุดท้ายพระองค์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ส่วนตัวชูชกเองก็ได้มาบังเกิดเป็นพระเทวทัต
ชูชกผู้เป็นขอทานนั้น เป็นผู้ที่มีเงินทองมากมายและมีภรรยาสาวสวยมากคือนางอมิตตดา (ในภพชาติสุดท้ายสมัยพุทธกาลก็คือ นางจิญจมาณวิกา) ซึ่งเป็นลูกสาวของพราหมณ์ที่เป็นเพื่อนกันและเป็นสุดยอดของผู้ที่ขออะไรแล้วจะได้ตามที่ประสงค์ ชูชกอาจไม่ใช่ตัวอัปลักษณ์ที่น่ารังเกียจถ้ามองในแง่ดี ตาเฒ่าผู้นี้ก็มีส่วนดีที่ควรเอาเยี่ยงอย่างคือ ชูชกเป็นผู้มีความประหยัดอดออม รักและห่วงใยภรรยามากเป็นคนซื่อสัตย์และให้ความไว้วางใจเพื่อนเป็นอย่างดี




ชูชกนั้นเป็นวรรณะพราหมณ์ในอินเดียโบราณถือว่ามีวรรณะที่สูงกว่ากษัตริย์เสียด้วยเป็นขอทานผู้ขออะไรแล้วก็จะได้ตามที่ขอทุกอย่างแม้แต่ไปขอพระชาลีและพระกัณหา พระราชบุตรและพระราชธิดาของพระโพธิสัตว์เวสสันดรท่านก็ยังโปรดประทานให้
เคล็ดการบูชา ชูชก ตามแบบของหมอดูกระดองเต่า ( อ.ฉัตรประเสริฐ  รวยโภคทรัพย์)
ชูชกนั้นเป็นพราหมณ์แขกอินเดียที่มีความชอบ “เนย” เนยที่ว่าเป็นได้ทั้งเนยข้นหรือเนยใส (ชีส)รวมไปถึงผลไม้อย่าง กล้วย นมข้นหวาน (แบบที่เป็นส่วนประกอบของโรตีในปัจจุบัน)โดยการบูชาชูชกไม่จำเป็นต้องมีรูปปั้นเสมือนจริงขนาดใหญ่ ขอให้บูชาเป็นองค์เล็ก ๆ พกติดตัวเอาไว้ก็พอ
วางฟักทอง ฟักเงินไว้ทางทิศตะวันตกของบ้าน รวยไม่มีจน
ท่านใดที่อยากมีเงินทองมากมาย มีใช้กินมีเก็บเหลือเฟือ ให้หาฟักทอง และฟักเงิน (ฟักที่ใช้แกงจืด) ลุกใหญ่ที่สุดเท่าที่หาได้ และให้ไปวางที่มุมบ้านที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ วางฟักทองและเอาฟักเงินวางซ้อนข้างบน ให้อธิษฐานเอาขอให้มีเงินทองไหลมาเทมา รับรองว่ายิ่งทำบุญมาก ทำกรรมดีมาก ยิ่งเสริมเคล็ด บอกได้คำเดียวว่า รวยโคตร
จากหนังสือเรื่อง ใครทำได้ (หรือได้ทำ) รวยโคตร โคตร โดย ชำนาญ การวิเศษ และจิตตะวชิระ

เขี้ยวหมูป่า




เขี้ยวหมูป่า



เขี้ยวหมูเป็นเครื่องรางให้ผลทางอำนาจ  และป้องกันสรรพอันตรายจากเขี้ยวงาของสัตว์ร้าย  โดยพระอาจารย์ท่านจะนำเขี้ยวหมูนั้นมาแกะสลักเป็นรูปเสือหรือ  ลงอักขระขอมหัวใจพระมนต์ต่าง ๆ รอบ ๆ เขี้ยวตามปกติ เขี้ยวหมูทั่ว  ๆ ไปมีลักษณะกลวงเป็นโพลงภายใน  แต่เขี้ยวหมูแกะรูปเสือนั้นเป็นเขี้ยวหมูตันทั้งอันไม่ใช่เขี้ยวโพลงอย่างเขี้ยวหมูทั่ว ๆ ไป
 
         ธรรมชาติของหมู่ป่านั้นอยู่รวมกันเป็นฝูง ๆ เวลาออกหากินมีจ่าฝูงแล้วก็มีพญาหมูป่่าเป็นประทานของฝูง  พญาหมูป่านั้นไม่ค่อยปรากฏกายแต่มักจะอยู่ภายในถ้ำลึก  มีนางหมูป่าซ้ายขวา  เป็นผู้หาอาหารป้อนเหยื่อให้แก่พญาหมูป่า  ดุจสาวสนมกำนัลผู้ปรนิบัติ  และพญาหมูป่าจะปรากฏตัวนอกถ้ำแต่เฉพาะเวลากลางคืน  แวดล้อมด้วยบริวาร  พญาหมู่ป่านี้แหละ  เป็นผู้ที่มีเขี้ยวตัน  ไม่เป็นโพลงอย่างประดาหมูป่าผู้เป็นบริวารทั้งหลายเรียกกันว่า  “หมูโทน”  เขี้ยวหมูตันจึงแรงด้วยอาถรรพณ์มีคุณภาพทางการให้อำนาจดุจพญาหมูป่าผู้เป็นใหญ่
 
         เขี้ยวหมูตันที่แกะเป็นรูปเสือเครื่องรางของขลังที่มีชื่อ  คือเขี้ยวหมูตันของหลวงพ่อปานวัดบางเหี้ย  จังหวัดสมุทรปราการ  ซึ่ง  “พระประแดง”  ได้เขียนเล่าไว้ในพิมพ์ไทย  ปลายสัปดาห์  ฉบับที่  28  ไว้ตอนหนึ่งดังนี้
 
         ...ที่สำคัญที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดของหลวงพ่อได้แก่เขี้ยวเสือแกะ  เขี้ยวเสือแกะของหลวงพ่อจะต้องแกะจากเขี้ยวเสือกลวง หรือ เขี้ยวหมูตัน  อันถือว่าเป็นของแปลงประหลาดสำหรับสัตว์ทั้งสองนี้  ท่านเอาทางด้านโคนเขี้ยวแกะสลักเป็นรูปหน้าเสือ  แล้วลงเลขยันต์ตามตัวเสือนั้นต่อมาชะรอยเขี้ยวเสือกลวงคงจะหาได้ยากจึงเอาเขี้ยวเสือตันบ้างเขี้ยวสัตว์อื่น ๆ บ้างแม้จนกระทั่งงาช้างมาแกะขึ้นเมื่อแกะสลักเรียบร้อยแล้วท่านจะนำไปทำพิธีปลุกเสกจนเป็นที่ใช้ได้แน่นอน  ก่อนจะนำมาให้แก่ผู้ใดท่านมักจะทำการปลุกเสกซ้ำต่อหน้าผู้รับผู้นั้นได้เห็นอภินิหารและเลื่อมใสในเครื่องรางนั้นยิ่งขึ้น 
 
         วิธีปลุกเสกมาแล้วนั้นใส่ลงในบาตรน้ำมนต์  แล้วปลุกเสกซ้ำอีกครั้งหนึ่ง  เสือแกะที่นอนสงบนิ่งอยู่ก้นบาตรน้ำมนต์นั้น  เมื่อถูกปลุกเสกสำทับเข้าครั้งแรก  จะค่อย ๆ เคลื่อนไหว  ที่ละเล็กละน้อย  จนน้ำในบาตรสั่นเป็นละลอกเห็นได้ชัดเสร็จแล้วเสือนั้นจะลอยขึ้นมาบนผิวน้ำ  ทั้ง ๆ ที่น้ำหนักของเสือหนักกว่าน้ำหนักของน้ำในปริมาตรเท่ากัน  จากนั้นเสือจะวิ่งวนอยู่ในน้ำแล้วจะกระโดดออกจาบาตร  มาตรงหน้าของผู้รับเลยทีเดียว  หากคราวใดปลุกเสือนี้พร้อมกันหลายตัว  เสือเหล่านี้จะฟัดกันอยู่ในบาตรล่อกันให้อีรุงตุงนังไปหมดครั้งหนึ่งหลวงพ่อปาเสือที่ปลุกเสกแล้วหายเข้าไปในพงหญ้า  พวกลูกศิษย์ลูกหาพากันไปหาให้กลุ้มไปหมด  แต่ไม่มีใครพบเลยแม้แต่สักตัวเดียว  ต่างนึกว่าหายสูญแน่  แต่หลวงพ่อกลับใช้ให้ลูกศิษย์ซื้อเนื้อสดมาหนึ่งชิ้น  แล้วนำไปแขวนเข้าที่ชายคากุฏินั่นเอง  พอลูกศิษย์ตื่นขึ้นมาตอนเช้าก็แลเห็นเสือที่ถูกขว้างทิ้งเมื่อวานนี้มารุมเกาะกินก้อนเนื้อครบถ้วนจำนวน  มันเป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่ลูกศิษย์ลูกหาของท่านที่มีตัวตนอยู่ในขณะนี้ต่างยืนยันเป็นเสียงเดียวกัน
 
         อานุภาพของเสือแกะหลวงพ่อปานนี้มีอเนกประการ  ทั้งเกี่ยวกับการทะนุถนอมรักษาของผู้ที่เป็นเจ้าขอเสือแกะนั้นด้วย  คือผู้ใดประพฤติตนไม่สมควร  เสือแกะอันศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อปานจะต้องมีอันเป็นหายไป  “พระประแดง”  ได้เล่าไว้ถึงเรื่องนี้อีกตอนหนึ่งว่า...
 
         “เสือแกะของหลวงพ่อนี้  ว่ากันว่าถ้าผู้ใดไม่มีบุญหรือไม่เคารพยำเกรงท่านมักจะให้เกิดเหตุเภทร้ายเสือหายไปดื้อ ๆ  ขณะที่ผู้เขียนอยู่ในวัยหนุ่มเคยได้เสือของหลวงพ่อติดตัวไว้องค์หนึ่ง  แต่ก็ไม่สนใจใยดีอะไรมากนัก  เชื่อมั่นอยู่อย่างเดียวจากประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้วว่าเขี้ยวหมาหรือเขี้ยวสัตว์ร้ายอื่น ๆ ไม่มีโอกาสฝั่งลงในผิวหนังของผู้เขียนเลย    แต่ผู้ที่เคยใช้เสือมายืนยันว่าป้องกันได้  แม้แต่คมหอกคมดาบไปจนถึงลูกปืน 
         ซึ่งเป็นเรื่องเล่าลือกันอย่างจริงจัง  คืนหนึ่งผู้เขียนทำเสือตัวนี้หล่นลงบนถนนซีเมนต์ในกรุงเทพฯนี่เอง  ผู้เขียนพยายามเอาไฟฉายหาอย่างละเอียดลออแต่ก็ไม่พอ  เมื่อนำเรื่องนี้ไปถามหลวงพ่อ  หลวงพ่อก็ตอบว่า  “เสือของพ่อไม่อยู่กับคนสกปรกหรอกพ่อเรียกกลับคืนมาแล้ว”  ผู้เขียนจึงขอคืนพร้อมกับให้คำมั่นสัญญาว่าจะประพฤติตนให้ดีงามต่อไป  หลวงพ่อจึงหยิบเสือของผู้เขียนออกมาให้ดู  ผู้เขียนจำได้อย่างแน่นอน  เพราะเสือตัวนั้นมีตำหนิรอยปิ่น  ไม่เหมือนของผู้อื่น  แต่หลวงพ่อไม่ได้ให้ผู้เขียนเดี๋ยวนั้น  หลวงพ่อบอกว่า  “ถ้าแกทำตัวดีแล้วเสือตัวนี้จะไปหาแกเอง” 
         ผู้เขียนได้พยายามทำตัวดีตลอดมา  จนลืมเรื่องเสือตัวนี้เสียสนิทจนกระทั่งวันหนึ่งผู้เขียนได้เดินดูพระที่ท้องสนามหลวงเห็นเด็กคนหนึ่งถือเสือหลวงพ่อปานด้วยความสนใจผู้เขียนจึงขอดู  แทบไม่เชื่อสายตาว่าเสือตัวนั้นเป็นของผู้เขียนเองนั่นแหละ  เราตกลงซื้อขายกัน  25  บาท  ต่อมาเมื่อไถ่ถามเด็กผู้นี้ว่าไปได้เสือตัวนั้นมาจากไหน  เขาก็บอกว่าเก็บได้ที่ริมถนนหน้าบ้านผู้เขียนเอง  ที่ ๆ เด็กเก็บได้นี้อยู่ห่างกับที่หล่นหายในครั้งแรกถึง  50  เมตรเศษ

ที่มา http://www.itti-patihan.com/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94.html

ตะกรุด




ตะกรุด

 เป็นหนึ่งในเครื่องรางของขลังที่ผูกพันกับคติความเชื่อในสังคมไทยมาช้านาน เพื่อความเข้มขลัง ศักดิ์สิทธิ์ ดีในทางแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ป้องกันภยันตราย ภัยพิบัติทั้งปวง รวมทั้งด้านเมตตามหานิยม ค้าขาย โชคลาภ กลับดวง พลิกชะตา เลื่อนยศ ร้ายกลายเป็นดี ฯลฯ ตะกรุดได้ถูกสร้างโดยอ้างถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เพราะหากทำวัตถุบูชาเป็นรูปพระพุทธเจ้าแล้ว เมื่อนำไปในสถานที่ต่าง ๆ เช่น สนามรบ อาจจะไม่บังควร
ตะกรุดทำมาจากวัสดุต่าง ๆ ตามตำราของครูบาอาจารย์แต่ละท่าน แต่ที่พบโดยทั่วไปจะเป็นการนำโลหะแผ่นบางๆ อาจจะเป็น ทองคำ เงิน นาก ตะกั่ว หรือโลหะผสมอื่น ๆ มาลงอักขระเลขยันต์ด้วยเหล็กจารแสดงความหมายที่แตกต่างกันออกไป แล้วม้วนให้เป็นท่อกลมโดยมีช่องว่างตรงแกนกลางสำหรับร้อยเชือกติดตัว อาจนำมาหลอมรวมกันแล้วทำเป็นตะกรุดหล่อโบราณ ทำจากรางน้ำฝน ทำจากกาน้ำ ทำจากใบลาน ตัดเป็นแผ่นก่อนแช่น้ำแล้วนำมาม้วนเป็นท่อกลม ทำจากหนังสัตว์ เช่น หนังเสือ หนังหน้าผากเสือ หนังงู หนังเสือดาว หนังลูกวัวอ่อนตายในท้องแม่ หรือจากกระดูกสัตว์ ตะกรุดกระดูกช้าง ตะกรุดจากเขาวัวเผือก หรือจากไม้มงคลต่างๆ เช่น ไม้ไผ่ ซึ่งมีทั้งไผ่ตันและไผ่รวก ไม้คูน ไม้ขนุน ตะกรุดส่วนใหญ่ที่เป็นโลหะ จะมีความเชื่อที่แตกแขนงออกไปอีก เช่น ถ้าเป็นตะกรุดที่ต้องการให้เกิดผลทางด้านเมตตา มักจะทำโดยใช้แผ่นทองหรือแผ่นเงิน ตะกรุดที่ต้องการให้เกิดผลทางคงกระพัน จะใช้แผ่นทองแดง ตะกรุดที่ต้องการให้เกิดผลทางด้านแคล้วคลาด มักจะใช้แผ่นตะกั่ว เป็นต้น


                       



การอาราธทนา

นะโม3จบ
พระพุทธธังอาราธทนานัง
พระธัมมังอาราธทนานัง
พระสังฆังอาราธทนานัง
พุทธธังปะสิทธิเม
ธัมมังปะสิทธิเม
สังฆังปะสิทธิเม

ใช้อาราธทนา พระ และ สิ่งศักดิ์สิทธ์ ที่พกติดตัวได้ทั้งหมด