เขี้ยวหมูป่า
เขี้ยวหมูเป็นเครื่องรางให้ผลทางอำนาจ และป้องกันสรรพอันตรายจากเขี้ยวงาของสัตว์ร้าย โดยพระอาจารย์ท่านจะนำเขี้ยวหมูนั้นมาแกะสลักเป็นรูปเสือหรือ ลงอักขระขอมหัวใจพระมนต์ต่าง ๆ รอบ ๆ เขี้ยวตามปกติ เขี้ยวหมูทั่ว ๆ ไปมีลักษณะกลวงเป็นโพลงภายใน แต่เขี้ยวหมูแกะรูปเสือนั้นเป็นเขี้ยวหมูตันทั้งอันไม่ใช่เขี้ยวโพลงอย่างเขี้ยวหมูทั่ว ๆ ไป
ธรรมชาติของหมู่ป่านั้นอยู่รวมกันเป็นฝูง ๆ เวลาออกหากินมีจ่าฝูงแล้วก็มีพญาหมูป่่าเป็นประทานของฝูง พญาหมูป่านั้นไม่ค่อยปรากฏกายแต่มักจะอยู่ภายในถ้ำลึก มีนางหมูป่าซ้ายขวา เป็นผู้หาอาหารป้อนเหยื่อให้แก่พญาหมูป่า ดุจสาวสนมกำนัลผู้ปรนิบัติ และพญาหมูป่าจะปรากฏตัวนอกถ้ำแต่เฉพาะเวลากลางคืน แวดล้อมด้วยบริวาร พญาหมู่ป่านี้แหละ เป็นผู้ที่มีเขี้ยวตัน ไม่เป็นโพลงอย่างประดาหมูป่าผู้เป็นบริวารทั้งหลายเรียกกันว่า “หมูโทน” เขี้ยวหมูตันจึงแรงด้วยอาถรรพณ์มีคุณภาพทางการให้อำนาจดุจพญาหมูป่าผู้เป็นใหญ่
เขี้ยวหมูตันที่แกะเป็นรูปเสือเครื่องรางของขลังที่มีชื่อ คือเขี้ยวหมูตันของหลวงพ่อปานวัดบางเหี้ย จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่ง “พระประแดง” ได้เขียนเล่าไว้ในพิมพ์ไทย ปลายสัปดาห์ ฉบับที่ 28 ไว้ตอนหนึ่งดังนี้
...ที่สำคัญที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดของหลวงพ่อได้แก่เขี้ยวเสือแกะ เขี้ยวเสือแกะของหลวงพ่อจะต้องแกะจากเขี้ยวเสือกลวง หรือ เขี้ยวหมูตัน อันถือว่าเป็นของแปลงประหลาดสำหรับสัตว์ทั้งสองนี้ ท่านเอาทางด้านโคนเขี้ยวแกะสลักเป็นรูปหน้าเสือ แล้วลงเลขยันต์ตามตัวเสือนั้นต่อมาชะรอยเขี้ยวเสือกลวงคงจะหาได้ยากจึงเอาเขี้ยวเสือตันบ้างเขี้ยวสัตว์อื่น ๆ บ้างแม้จนกระทั่งงาช้างมาแกะขึ้นเมื่อแกะสลักเรียบร้อยแล้วท่านจะนำไปทำพิธีปลุกเสกจนเป็นที่ใช้ได้แน่นอน ก่อนจะนำมาให้แก่ผู้ใดท่านมักจะทำการปลุกเสกซ้ำต่อหน้าผู้รับผู้นั้นได้เห็นอภินิหารและเลื่อมใสในเครื่องรางนั้นยิ่งขึ้น
วิธีปลุกเสกมาแล้วนั้นใส่ลงในบาตรน้ำมนต์ แล้วปลุกเสกซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เสือแกะที่นอนสงบนิ่งอยู่ก้นบาตรน้ำมนต์นั้น เมื่อถูกปลุกเสกสำทับเข้าครั้งแรก จะค่อย ๆ เคลื่อนไหว ที่ละเล็กละน้อย จนน้ำในบาตรสั่นเป็นละลอกเห็นได้ชัดเสร็จแล้วเสือนั้นจะลอยขึ้นมาบนผิวน้ำ ทั้ง ๆ ที่น้ำหนักของเสือหนักกว่าน้ำหนักของน้ำในปริมาตรเท่ากัน จากนั้นเสือจะวิ่งวนอยู่ในน้ำแล้วจะกระโดดออกจาบาตร มาตรงหน้าของผู้รับเลยทีเดียว หากคราวใดปลุกเสือนี้พร้อมกันหลายตัว เสือเหล่านี้จะฟัดกันอยู่ในบาตรล่อกันให้อีรุงตุงนังไปหมดครั้งหนึ่งหลวงพ่อปาเสือที่ปลุกเสกแล้วหายเข้าไปในพงหญ้า พวกลูกศิษย์ลูกหาพากันไปหาให้กลุ้มไปหมด แต่ไม่มีใครพบเลยแม้แต่สักตัวเดียว ต่างนึกว่าหายสูญแน่ แต่หลวงพ่อกลับใช้ให้ลูกศิษย์ซื้อเนื้อสดมาหนึ่งชิ้น แล้วนำไปแขวนเข้าที่ชายคากุฏินั่นเอง พอลูกศิษย์ตื่นขึ้นมาตอนเช้าก็แลเห็นเสือที่ถูกขว้างทิ้งเมื่อวานนี้มารุมเกาะกินก้อนเนื้อครบถ้วนจำนวน มันเป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่ลูกศิษย์ลูกหาของท่านที่มีตัวตนอยู่ในขณะนี้ต่างยืนยันเป็นเสียงเดียวกัน
อานุภาพของเสือแกะหลวงพ่อปานนี้มีอเนกประการ ทั้งเกี่ยวกับการทะนุถนอมรักษาของผู้ที่เป็นเจ้าขอเสือแกะนั้นด้วย คือผู้ใดประพฤติตนไม่สมควร เสือแกะอันศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อปานจะต้องมีอันเป็นหายไป “พระประแดง” ได้เล่าไว้ถึงเรื่องนี้อีกตอนหนึ่งว่า...
“เสือแกะของหลวงพ่อนี้ ว่ากันว่าถ้าผู้ใดไม่มีบุญหรือไม่เคารพยำเกรงท่านมักจะให้เกิดเหตุเภทร้ายเสือหายไปดื้อ ๆ ขณะที่ผู้เขียนอยู่ในวัยหนุ่มเคยได้เสือของหลวงพ่อติดตัวไว้องค์หนึ่ง แต่ก็ไม่สนใจใยดีอะไรมากนัก เชื่อมั่นอยู่อย่างเดียวจากประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้วว่าเขี้ยวหมาหรือเขี้ยวสัตว์ร้ายอื่น ๆ ไม่มีโอกาสฝั่งลงในผิวหนังของผู้เขียนเลย แต่ผู้ที่เคยใช้เสือมายืนยันว่าป้องกันได้ แม้แต่คมหอกคมดาบไปจนถึงลูกปืน
ธรรมชาติของหมู่ป่านั้นอยู่รวมกันเป็นฝูง ๆ เวลาออกหากินมีจ่าฝูงแล้วก็มีพญาหมูป่่าเป็นประทานของฝูง พญาหมูป่านั้นไม่ค่อยปรากฏกายแต่มักจะอยู่ภายในถ้ำลึก มีนางหมูป่าซ้ายขวา เป็นผู้หาอาหารป้อนเหยื่อให้แก่พญาหมูป่า ดุจสาวสนมกำนัลผู้ปรนิบัติ และพญาหมูป่าจะปรากฏตัวนอกถ้ำแต่เฉพาะเวลากลางคืน แวดล้อมด้วยบริวาร พญาหมู่ป่านี้แหละ เป็นผู้ที่มีเขี้ยวตัน ไม่เป็นโพลงอย่างประดาหมูป่าผู้เป็นบริวารทั้งหลายเรียกกันว่า “หมูโทน” เขี้ยวหมูตันจึงแรงด้วยอาถรรพณ์มีคุณภาพทางการให้อำนาจดุจพญาหมูป่าผู้เป็นใหญ่
เขี้ยวหมูตันที่แกะเป็นรูปเสือเครื่องรางของขลังที่มีชื่อ คือเขี้ยวหมูตันของหลวงพ่อปานวัดบางเหี้ย จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่ง “พระประแดง” ได้เขียนเล่าไว้ในพิมพ์ไทย ปลายสัปดาห์ ฉบับที่ 28 ไว้ตอนหนึ่งดังนี้
...ที่สำคัญที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดของหลวงพ่อได้แก่เขี้ยวเสือแกะ เขี้ยวเสือแกะของหลวงพ่อจะต้องแกะจากเขี้ยวเสือกลวง หรือ เขี้ยวหมูตัน อันถือว่าเป็นของแปลงประหลาดสำหรับสัตว์ทั้งสองนี้ ท่านเอาทางด้านโคนเขี้ยวแกะสลักเป็นรูปหน้าเสือ แล้วลงเลขยันต์ตามตัวเสือนั้นต่อมาชะรอยเขี้ยวเสือกลวงคงจะหาได้ยากจึงเอาเขี้ยวเสือตันบ้างเขี้ยวสัตว์อื่น ๆ บ้างแม้จนกระทั่งงาช้างมาแกะขึ้นเมื่อแกะสลักเรียบร้อยแล้วท่านจะนำไปทำพิธีปลุกเสกจนเป็นที่ใช้ได้แน่นอน ก่อนจะนำมาให้แก่ผู้ใดท่านมักจะทำการปลุกเสกซ้ำต่อหน้าผู้รับผู้นั้นได้เห็นอภินิหารและเลื่อมใสในเครื่องรางนั้นยิ่งขึ้น
วิธีปลุกเสกมาแล้วนั้นใส่ลงในบาตรน้ำมนต์ แล้วปลุกเสกซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เสือแกะที่นอนสงบนิ่งอยู่ก้นบาตรน้ำมนต์นั้น เมื่อถูกปลุกเสกสำทับเข้าครั้งแรก จะค่อย ๆ เคลื่อนไหว ที่ละเล็กละน้อย จนน้ำในบาตรสั่นเป็นละลอกเห็นได้ชัดเสร็จแล้วเสือนั้นจะลอยขึ้นมาบนผิวน้ำ ทั้ง ๆ ที่น้ำหนักของเสือหนักกว่าน้ำหนักของน้ำในปริมาตรเท่ากัน จากนั้นเสือจะวิ่งวนอยู่ในน้ำแล้วจะกระโดดออกจาบาตร มาตรงหน้าของผู้รับเลยทีเดียว หากคราวใดปลุกเสือนี้พร้อมกันหลายตัว เสือเหล่านี้จะฟัดกันอยู่ในบาตรล่อกันให้อีรุงตุงนังไปหมดครั้งหนึ่งหลวงพ่อปาเสือที่ปลุกเสกแล้วหายเข้าไปในพงหญ้า พวกลูกศิษย์ลูกหาพากันไปหาให้กลุ้มไปหมด แต่ไม่มีใครพบเลยแม้แต่สักตัวเดียว ต่างนึกว่าหายสูญแน่ แต่หลวงพ่อกลับใช้ให้ลูกศิษย์ซื้อเนื้อสดมาหนึ่งชิ้น แล้วนำไปแขวนเข้าที่ชายคากุฏินั่นเอง พอลูกศิษย์ตื่นขึ้นมาตอนเช้าก็แลเห็นเสือที่ถูกขว้างทิ้งเมื่อวานนี้มารุมเกาะกินก้อนเนื้อครบถ้วนจำนวน มันเป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่ลูกศิษย์ลูกหาของท่านที่มีตัวตนอยู่ในขณะนี้ต่างยืนยันเป็นเสียงเดียวกัน
อานุภาพของเสือแกะหลวงพ่อปานนี้มีอเนกประการ ทั้งเกี่ยวกับการทะนุถนอมรักษาของผู้ที่เป็นเจ้าขอเสือแกะนั้นด้วย คือผู้ใดประพฤติตนไม่สมควร เสือแกะอันศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อปานจะต้องมีอันเป็นหายไป “พระประแดง” ได้เล่าไว้ถึงเรื่องนี้อีกตอนหนึ่งว่า...
“เสือแกะของหลวงพ่อนี้ ว่ากันว่าถ้าผู้ใดไม่มีบุญหรือไม่เคารพยำเกรงท่านมักจะให้เกิดเหตุเภทร้ายเสือหายไปดื้อ ๆ ขณะที่ผู้เขียนอยู่ในวัยหนุ่มเคยได้เสือของหลวงพ่อติดตัวไว้องค์หนึ่ง แต่ก็ไม่สนใจใยดีอะไรมากนัก เชื่อมั่นอยู่อย่างเดียวจากประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้วว่าเขี้ยวหมาหรือเขี้ยวสัตว์ร้ายอื่น ๆ ไม่มีโอกาสฝั่งลงในผิวหนังของผู้เขียนเลย แต่ผู้ที่เคยใช้เสือมายืนยันว่าป้องกันได้ แม้แต่คมหอกคมดาบไปจนถึงลูกปืน
ซึ่งเป็นเรื่องเล่าลือกันอย่างจริงจัง คืนหนึ่งผู้เขียนทำเสือตัวนี้หล่นลงบนถนนซีเมนต์ในกรุงเทพฯนี่เอง ผู้เขียนพยายามเอาไฟฉายหาอย่างละเอียดลออแต่ก็ไม่พอ เมื่อนำเรื่องนี้ไปถามหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ตอบว่า “เสือของพ่อไม่อยู่กับคนสกปรกหรอกพ่อเรียกกลับคืนมาแล้ว” ผู้เขียนจึงขอคืนพร้อมกับให้คำมั่นสัญญาว่าจะประพฤติตนให้ดีงามต่อไป หลวงพ่อจึงหยิบเสือของผู้เขียนออกมาให้ดู ผู้เขียนจำได้อย่างแน่นอน เพราะเสือตัวนั้นมีตำหนิรอยปิ่น ไม่เหมือนของผู้อื่น แต่หลวงพ่อไม่ได้ให้ผู้เขียนเดี๋ยวนั้น หลวงพ่อบอกว่า “ถ้าแกทำตัวดีแล้วเสือตัวนี้จะไปหาแกเอง”
ผู้เขียนได้พยายามทำตัวดีตลอดมา จนลืมเรื่องเสือตัวนี้เสียสนิทจนกระทั่งวันหนึ่งผู้เขียนได้เดินดูพระที่ท้องสนามหลวงเห็นเด็กคนหนึ่งถือเสือหลวงพ่อปานด้วยความสนใจผู้เขียนจึงขอดู แทบไม่เชื่อสายตาว่าเสือตัวนั้นเป็นของผู้เขียนเองนั่นแหละ เราตกลงซื้อขายกัน 25 บาท ต่อมาเมื่อไถ่ถามเด็กผู้นี้ว่าไปได้เสือตัวนั้นมาจากไหน เขาก็บอกว่าเก็บได้ที่ริมถนนหน้าบ้านผู้เขียนเอง ที่ ๆ เด็กเก็บได้นี้อยู่ห่างกับที่หล่นหายในครั้งแรกถึง 50 เมตรเศษ
ที่มา http://www.itti-patihan.com/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94.html
ที่มา http://www.itti-patihan.com/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น